Thursday, June 25, 2009
โอกาสในการได้มาของวีซ่านักเรียน
1. กรณีเคยเปลี่ยนวีซ่า (สถานะ) ที่อเมริกา
ที่เอากรณีนี้ขึ้นก่อน เพราะว่าเมื่อ 2 ตอนที่แล้ว เราคุยเรื่องเปลี่ยนสถานะกันนั่นเอง ซึ่งโดยปกติเวลาเปลี่ยนสถานะ เราจะพูดติดปากกันว่า เปลี่ยนแล้วกลับไทยไม่ได้ เหมือนถูกขังอยู่ในอเมริกา ก็อย่างที่บอกว่าการเปลี่ยนสถานะ ทางอิมฯ เค้าจะรับรองสถานะการเป็นนักเรียนต่อเมื่อคุณอยู่ในอเมริกาเท่านั้น ดังนั้น ถ้ากลับไทย ก็ต้องไปขอเปลี่ยนวีซ่ากลับมาให้ถูกต้อง (ตอนที่เปลี่ยนสถานะที่อเมริกานั้น เข้ามาด้วยวีซ่าประเภทอื่น เช่น ท่องเที่ยว ออร์แพ เป็นต้น) เนื่องจากว่าต้นทางของวีซ่าที่คุณได้รับมาอยู่ที่ประเทศไทย ดังนั้น คุณจะต้องกลับไปเปลี่ยนวีซ่าที่ต้นทางนั่นเอง
ดังนั้น หลายคนที่เปลี่ยนสถานะจึงเครียด เพราะต้องอยู่ให้นานที่สุด แบบว่าเรียนให้จบทีเดียวแล้วค่อยกลับไทย จะคิดถึงบ้านแค่ไหนก็ต้องจำอยู่ไป จริงๆ แล้ว ถามว่าถ้ากลับไปแล้วไปเปลี่ยนวีซ่ามาให้ถูกต้องยากไหม โอกาสได้มีหรือป่าว จะโดนแบนไหม....ตอบว่าโอกาสนะมี แต่มันต้องดูเหตุและผล ว่าสอดคล้องกัน น่าเชื่อถือแค่ไหน เพราะสิ่งสำคัญที่สุด คุณต้องแสดงเจตนาว่ายังไงก็จะกลับไทย ปิดช่องที่จะทำให้เห็นว่าตั้งใจมาอยู่อเมริกาตลอดชีวิตให้มิด ขอยกตัวอย่างทั้งกรณีที่ดูแล้วยังไงก็ไม่ผ่าน และกรณีโอกาสที่จะผ่านมีสูงก็แล้วกันค่ะ
Case I น้องตูน (นามสมมติ)
มาอเมริกาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว (B1/B2) และ I-94 แสตมป์ให้อยู่ได้ 6 เดือน น้องตูนปรึกษาทนายความเพื่อยื่นร้องขอเปลี่ยนสถานะ แล้วได้รับอนุมัติตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว ตลอด 2 ปี น้องตูนเรียนภาษาอยู่ในโรงเรียนสอนภาษาเอกชน จนกระทั่งตัดสินใจว่าจะกลับเมืองไทย แล้วไปขอเปลี่ยนวีซ่ากลับมา ก็ดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่าง ถือ I-20 จากโรงเรียนที่เรียนอยู่กลับไป + จดหมายรับรองจากโรงเรียน + หลักฐานทางการเงิน และอื่นๆ ปรากฏว่า....โดนปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า ไม่เชื่อว่ามาเรียน และความผูกพันกับประเทศไทยน้อย
ผลการวิเคราะห์
1. รวมระยะเวลาอยู่ในอเมริกานับตั้งแต่เข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว จนกระทั่งเปลี่ยนสถานะ 2.5 ปี (เกือบๆ 3 ปี) ภาษาอังกฤษน่าจะดีเกินกว่าจะเรียนภาษาอีก
2. โรงเรียนที่เรียนมาตลอด 2 ปี เป็นโรงเรียนเอกชนราคาประหยัด แถมอยู่ใน lists ถูกจ้องมองว่าขาย I-20 อีกต่างหาก
3. น้องตูนเรียนภาคค่ำ แล้วกลางวันไปทำอะไรล่ะ?
4. ตอบจุดประสงค์การเปลี่ยนสถานะไม่ตรงกับจดหมาย Education Plan ที่ยื่นไปตอนเปลี่ยนสถานะ (เนื่องจากทนายความเป็นคนร่างให้ น้องตูนเลยไม่ทราบว่าเขียนว่ายังไง)
5. แผนการศึกษาไม่ชัดเจน (จากคำตอบของน้องตูนที่ว่า จะเรียนภาษาไปจนกว่ามั่นใจ แล้วจึงจะเข้าเรียนต่อใน College) ซึ่งแสดงเจตนาว่าไม่มีกำหนดกลับไทยที่แน่นอน
6. ความผูกพันกับประเทศไทยมีน้อย หลักๆ ก็เรื่องงาน ก่อนไปอเมริกาทำงานในบริษัทใหญ่ มั่นคงก็จริง แต่ตอนที่ขอวีซ่าท่องเที่ยวไปครั้งแรกนั้น ยื่นจดหมายลาพักร้อนไป แต่สุดท้ายก็ไม่กลับมา (ขอลาออกตอนที่ได้อนุมัติเปลี่ยนสถานะ) และไปอยู่อเมริกาเกือบ 3 ปี อายุ ณ ตอนนี้ 30 ปี ก็ยากที่จะกลับมาหางานทำที่เมืองไทย (กว่าจะเรียนจบปาไป 30 กลางๆ)
Case II น้องเจน
มาอเมริกา 3 ปีที่แล้วด้วยวีซ่า J1 (ออร์แพ) ทำงานอยู่ 2 ปี ก่อนจะเปลี่ยนสถานะมาเป็นนักเรียน 1 ปี รวมเป็น 3 ปีพอดี โดยโปรแกรมที่เรียนคือ TOEFL ทั้งนี้ ตอนที่ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนสถานะ ได้แจ้งจุดประสงค์การเปลี่ยนว่า เรียน TOEFL เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย และเรียนต่อในด้านกฎหมาย ซึ่งก็ทำตามแผน คือตอนนี้เรียนปริญญาโท ใน Law School ชื่อดังแห่งหนึ่ง ตามหลักสูตรจะต้องเรียนทั้งหมด 2 ปี ตอนนี้เรียนมาได้เพียง 1 เทอม ยังเหลืออีก ปีกว่าๆ จึงจะจบ แต่จำเป็นต้องกลับเมืองไทยเพื่อไปทำธุระบางอย่าง จึงแจ้งทางโรงเรียนว่าขอพักการเรียน 1 เทอม กลับเมืองไทย ทางโรงเรียนจึงออกเอกสารสำหรับยื่นประกอบการขอวีซ่านักเรียนให้กับน้องเจน ดังนี้
1. I-20 ที่มีลายเซ็นต์ผู้รับผิดชอบนักเรียนต่างชาติด้านหลัง (ปกติ I-20 ของนักเรียนที่เรียนในโปรแกรมการศึกษา จะมีอายุครอบคลุมไปจนจบหลักสูตร อย่างของน้องเจนคือมีอายุ 2 ปี)
2. จดหมายรับรองการเป็นนักศึกษาจากโรงเรียน พร้อมระยะเวลาการลาเรียน ผลคือ น้องเจน ได้รับอนุมัติวีซ่านักเรียน โดยอายุของวีซ่าคือ 5 ปี
ผลการวิเคราะห์
1. ความสอดคล้องตั้งแต่การขอเปลี่ยนสถานะ จนกระทั่งการกลับไปขอวีซ่าสมเหตุสมผล แสดงเจตนาว่าต้องการเรียนจริงๆ ไม่ใช่แค่ต้องการจะอยู่ในอเมริกาเท่านั้น ทั้งนี้ด้วยชื่อเสียงของโรงเรียนที่เรียน มีส่วนช่วยถึง 80%
2. หลักฐานทางการเงินที่แสดงความสามารถว่า สามารถเรียนได้จนจบหลักสูตรโดยไม่ต้องทำงาน คือ หลักสูตรเหลืออีก 1 ปีกว่าๆ (ตีว่า 2 ปีละกัน) รวมการฝึกงานอีก 1 ปี ก็ประมาณ 3 ปีทั้งหมด น้องเจนโชว์ แบงก์สเตทเมนท์ 80,000 เหรียญ (เหลือเฟือสำหรับ 3 ปี จากการประมาณค่าเรียน + ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เดือนละ 2,000 เหรียญ 36 เดือนก็ 72,000 เหรียญ)
3. มีแผนการศึกษา และหลังจบการศึกษาชัดเจน คือ แจ้งว่าหลังจบการศึกษาแล้ว จะกลับมาช่วยบริษัทของคุณพ่อ ซึ่งเป็นบริษัทกฎหมายที่เมืองไทย โดยกลับมารับตำแหน่ง ที่ปรึกษาลูกค้าต่างประเทศ ภาคพื้นอเมริกา พร้อมหลักฐานเกี่ยวกับบริษัทด้วย
ทั้ง 2 ตัวอย่าง น่าจะช่วยให้คุณๆ ได้ไอเดียแล้วว่ายังไง ถึงจะมีโอกาสสูงในการได้วีซ่า หากจำเป็นต้องกลับไปเปลี่ยนวีซ่าที่เมืองไทย หลังจากเปลี่ยนสถานะที่อเมริกาแล้วจริงๆ ส่วนตอนหน้าเรามาคุยเรื่องโอกาสการได้ วีซ่าสำหรับผู้ที่ได้วีซ่านักเรียนแค่ 1 ปี แล้วจะกลับไปต่อวีซ่าที่เมืองไทยกันนะคะ
และฝากสำหรับผู้ที่ต้องการรายละเอียดโรงเรียนสอนภาษา และเปลี่ยนสถานะ ก็ติดต่อเก๋มาได้ค่ะที่ peena.kay@gmail.com or Tel. 310-990-8092
Friday, April 24, 2009
School Blacklist and Change of Status
จาก ไปเมืองไทยเดือนกว่าๆ คิดถึง Student Blog มากมาย กลับมาคราวนี้ มาพร้อมเรื่องราวของข่าวลือ และการเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับโรงเรียนที่ติด Blacklist กับการเปลี่ยนวีซ่า Change of Status มาเล่าให้ฟังค่ะ
เริ่ม จากเรื่องโรงเรียนสอนภาษาก่อนเลยค่ะ อย่างที่รู้กันสำหรับนักเรียนไทย ส่วนใหญ่จะมาเรียนโดยการเริ่มต้นจากการเรียนภาษาก่อน ซึ่งวิธีการที่จะได้มาซึ่งโรงเรียนสอนภาษานั้นก็มีอยู่หลายวิธี ที่รู้ๆ กันก็
1. เอเจนซี่ หรือ สถาบันแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ วิธีการนี้ก็เป็นทางลัดอย่างนึงที่เค้าจะบอกเราหมดเลยว่าต้องทำยังไง บ้าง เตรียมอะไรบ้าง พร้อมแนะนำการขอวีซ่า (แต่ไม่รับประกันผ่านนะจ๊ะ) ซึ่งหลายๆ คนก็คิดว่าแหม ทำเองก็ได้ ทำไมต้องไปเสียเงินให้เอเจนฯ อันนี้ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนค่ะว่า เอเจนฯ ส่วนใหญ่ได้ค่าคอมฯ จากโรงเรียน ดังนั้นก็ไม่ต้องสงสัยว่าเค้าจะได้อะไร (เพราะบางเอเจนฯ โฆษณาว่าไม่เสียค่าดำเนินการ) เอาเป็นว่าถ้าสบายใจจะได้คนแนะนำไม่ต้องเสียเวลาหาข้อมูลเองก็ใช้เอเจนฯ ได้ค่ะ ไม่เสียหลายอะไร
2. หาเอง โดยค้นหาในอินเทอร์เน็ต แล้วก็สมัครเอง จ่ายเงินค่าสมัครแล้วก็รอ I-20 อยู่ที่บ้าน เมื่อได้ I-20 แล้วก็นำไปยื่นประกอบกับเอกสารอื่นๆ ขอวีซ่า วิธีก็ง่ายๆ ไม่ได้ยุ่งยากอะไร แต่สำหรับคนที่ไม่เคยเลย ไม่มีข้อมูลอะไรเลยจะยากนิดนึง ตรงที่ต้องค่อยๆ หา ค่อยๆ อ่าน แล้วก็เตรียมเอกสารเองสำหรับขอวีซ่า (จริงๆ ก็ไม่ยาก ทุกอย่างมีบอกในเว็บฯ ทั้งหมดน่ะแหละ ถ้าไม่ขี้เกียจก็ง่ายจะตาย 555)
ทีนี้ความเข้าใจผิดส่วนใหญ่ก็มาจากการหาเองนี่แหละ คือมันมีข่าวลือไงคะ เช่นอย่าไปโรงเรียนนี้ นั้น นะ เพราะติด Blacklist บวกกับความเชื่อง่ายก็นะ ไม่เอาๆ โรงเรียนนี้ไม่เอา ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียน Language Systems International College of English: LSI (ขอยกตัวอย่างโรงเรียนที่เก๋ทำงานอยู่ละกัน...ง่ายดี) อันนี้เจอมากับตัวเองเลย
สมัยที่เก๋หาโรงเรียนเพื่อขอ I-20 มาเรียน ก็เวียนหาข้อมูลเอง ตามเว็บฯ ต่างๆ แล้วก็เจอ LSI ซึ่งราคาค่าเรียนแสนถูก แต่มีข่าวลือบอกว่าติด Blacklist ก็เข้าไปดูในเว็บของ Immigration แต่ก็ไม่เห็นชื่อของ LSI ใน Blacklist แต่ ก็นะมีข่าวมาแบบนี้เราก็ไม่กล้าสิ ก็เลยจำยอมไปลง UCLA ซึ่งแพงแสนแพง (แต่คุณภาพมาก) จนกระทั่งมาถึงอเมริกาฯ เรียนไปก็นะไม่ไหว UCLA แพง ต้องหาโรงเรียนที่ถูกกว่านี้ ในใจก็ยังคิดถึง LSI แต่ก็ยังไม่กล้า เพราะข่าวลือไง ไปลงที่อื่นละกัน สรุป...ผิดหวังเพราะคุณภาพการสอนไม่ได้เลย เรียนที่เมืองไทยยังดีกว่าซะอีก สุดท้ายมีความจำเป็นต้องมาย้ายมาที่ LSI ก็มาคุยกับเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับที่เราไม่แน่ใจว่าติด Blacklist หรือป่าว เค้าก็บอกว่าไม่จริง โรงเรียนไม่ได้ติด Blacklist แต่นะคุณทำงานที่นี่คุณก็ต้องว่าไม่ติดสิ (แน่ะ ยังมั่นใจในข่าวลือ) แต่นาทีนั้นมันต้องเสี่ยงแล้วล่ะเพราะจำเป็นจริงๆ
จนกระทั่งมาเรียน อ้าวเฮ้ย...สอนดีนิ ประทับใจมาก เรียนอยู่เดือนนึง ก็พอดีเค้ารับสมัคร Thai Speaker เพื่อทำงาน เลยได้มาทำ พอทำงานก็ได้แจ้งล่ะว่า LSI ไม่ได้ติด Blacklist เพียงแต่มีบางช่วงที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการตระเวนปิดโรงเรียนสอนภาษาที่เปิด ทำธุรกิจบังหน้า ขาย I-20 เฉยๆ เลยโดนเข้าใจผิดไปด้วย เชื่อไหมว่าทุกวันนี้แม้กระทั่งน้องๆ ที่เรียนที่ LSI ก็ยังไม่มั่นใจ จะกลับเมืองไทยทีก็วิ่งมาถามล่ะว่า “พี่คะหนูจะกลับเมืองไทย แล้วพอกลับมาจะมีปัญหาไหมคะ” โห...ต้องคุยกันยาวเลย เพราะมันมีหลายกรณีที่จะโดนกักตอนขากลับเข้ามา แต่ถ้าเพราะ Blacklist น่ะไม่ใช่แน่ๆ
สำหรับที่ LSI นับว่าเป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานการสอน มีหลายหลักสูตรรองรับ ทั้ง ESL, TOEFL, TOEIC, GMAT-GRE and Business English ทุกโปรแกรมได้ผ่านการรับรองจาก Immigration เพื่อออก I-20 ได้ มี Classes ให้เลือกทั้งเช้า-บ่าย-เย็น เลือกเรียนตามเวลาที่สะดวก อ่อ...มีส่วนลดให้สำหรับนักเรียนที่จะ Transfer มากจากโรงเรียนอื่นด้วยค่ะ โทร.ถามได้ที่ 310-990-8092 นอกจากนี้มีบริการเปลี่ยนวีซ่า (Change of Status) สำหรับผู้ที่ถือวีซ่าประเภทอื่นเข้ามาแล้วอยากจะเปลี่ยนมาเป็นนักเรียนด้วยค่ะ อ่ะ...ว่าแล้วมาพูดถึงข่าวลือเรื่องที่ 2
ข่าวลือเกี่ยวกับการเปลี่ยนวีซ่า หรือ Change of Status : COS จริงๆ มันไม่ใช่การเปลี่ยนวีซ่า แต่มันคือการเปลี่ยนสถานะจากอื่นๆ เช่น B1 B2 J1 …เป็นต้น มาเป็น นักเรียน F1 ซึ่งจะทำเมื่อมาถึงอเมริกาแล้ว แต่ต้องทำก่อนที่วีซ่าหมดอายุ หรือก่อนระยะเวลาที่อิมฯ อนุญาต 2-1.5 เดือน อันนี้จะเล่าความโก๊ะของเก๋เพราะข่าวลือให้ฟัง คือว่า...เคยอ่านกระทู้เยอะแยะมากมายในพันทิป เกี่ยวกับการขอ COS แล้วเจอบอกว่า ไม่ได้แล้ว เดี๋ยวนี้ทำไม่ได้ อ่ะ...ก็จำมาโดยตลอดว่าทำไม่ได้
จนกระทั่งมาทำงานที่ LSI ในวันฝึกงาน ผจก. ก็สอนงาน และพูดถึงนักเรียนที่ต้องการ COS เราก็ถามเลยสิ “ยังทำได้เหรอ เดี๋ยวนี้อิมฯ ไม่อนุญาตให้ทำแล้วไม่ใช่เหรอ” เพล้ง...หน้าแตกสิคะ ขอบอกว่ายังทำได้ค่ะ แต่มีข้อจำกัดที่เมื่อเปลี่ยนสถานะแล้วเมื่อไหร่ที่กลับประเทศจะต้องขอวีซ่า มาใหม่ (เลยเป็นที่ติดปากคนไทยว่า เปลี่ยนแล้วกลับเมืองไทยไม่ได้) ในความหมายก็คือ ทางอิมฯ รับรองสถานะการเป็นนักเรียนเฉพาะเมื่อคุณอยู่ในอเมริกาเท่านั้น เมื่อไหร่ ที่ออกนอกอเมริกาสถานภาพนักเรียนก็จบกันไป อยากมาใหม่ก็ไปขอวีซ่ามาให้ถูก ประเภทนั่นเอง
ทีนี้การขอ COS นั้นสามารถทำเองได้โดยการเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ www.uscis.gov ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม จ่ายค่าสมัครประมาณไม่เกิน $300, ขอ I-20 จากโรงเรียนที่ต้องการไปเรียน, ส่ง I-20 พร้อมเอกสารตามที่อิมฯ ต้องการไปทาง Mail แล้วก็รอจดหมายแจ้งจากอิมฯ ว่า ปฏิเสธ หรือ อนุมัติ
ทั้ง นี้ปรากฏว่าเคยมีบางคนโดนปฏิเสธกลับมาโดยทางอิมฯ แจ้งว่าต้องให้ทนายความเป็นคนยื่นเรื่องให้ แต่บางคนก็ไม่ต้อง ได้รับการอนุมัติโดยยื่นเรื่องเองก็มี อ่อ...อย่าถามว่าทำไมเพราะว่าไม่รู้ เหมือนกัน อิอิ...ทีนี้ถ้าต้องไปหาทนายก็ต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับทนาย เท่าที่ทราบก็เริ่มต้นที่ $1000 - $1500 (รวมค่าสมัคร หรือไม่รวมก็แล้วแต่ทนาย สอบถามให้ชัดเจนละกัน)
สำหรับที่โรงเรียน LSI ก็มีทนายความของโรงเรียนให้บริการการขอ COS ให้ ทั้งนี้ปรึกษาฟรี แต่มีค่าดำเนินการ $1000 รวมค่าสมัคร โดยทางทนายจะจัดการทำเรื่องให้ทุกอย่างรวมถึงร่างจดหมายแจ้งเหตุผลการ เปลี่ยนสถานะด้วย อ่อ...ไม่รวมค่าขอ I-20 นะคะ ค่า I-20 ต้องจ่ายให้โรงเรียนค่ะ ซึ่งค่าเรียนจ่ายแค่มัดจำ หากถูกปฏิเสธก็ขอคืนได้
สิ่งที่ต้องรู้และทำใจอย่างนึงเมื่อใช้บริการของทนายความว่า ไม่รับประกันอนุมัติ ค่ะ รวมถึงไม่สามารถบอกได้ด้วยว่าต้องรอนานแค่ไหน บางคนเร็วหน่อยก็ไม่เกิน 3 เดือน แต่บางคนก็นานเป็นปี ยกตัวอย่างน้องเอ (นามสมมติ) เคยใช้ทนายที่อื่นยื่นเรื่องแล้วถูกปฏิเสธ แล้วก็มาขอให้ทนายที่ LSI ยื่นเรื่องใหม่ แต่ก็มีปัญหาเรื่องเอกสารโน่นนี่ รอจนผ่านไป 2 ปี ก็ยังไม่ทราบผล สุดท้ายแต่งงานได้ใบเขียวไปละ ส่วน น้องบี (นามสมมติ) ใช้บริการทนายที่ LSI เหมือนกัน แต่ต้องยื่นเรื่องถึง 3 ครั้ง 2 ครั้งแรกโดนปฏิเสธ ได้รับอนุมัติในครั้งที่ 3 รวมระยะเวลา 1 ปีเต็ม สำหรับน้องซี (นามสมมติ) โชคดีสุด 2 เดือนอนุมัติในการยื่นเรื่องครั้งแรกเลย เอาเป็นว่ามันไม่แน่นอน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอิมฯ สิ่งที่สบายใจได้ก็คือ ระหว่างรอพิจารณา เราอยู่ในอเมริกาได้อย่างถูกกฎหมาย ถึงแม้วีซ่าจะหมดไปแล้วก็ตาม
เอา ล่ะหวังว่าคงหายข้องใจกับข่าวลือทั้ง 2 ไปแล้วนะคะ ถ้าใครมีคำถาม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับโรงเรียน LSI และการเปลี่ยนสถานะ Change of Status ก็โทร.มาสอบถามเก๋ได้ที่ มือถือ 310-990-8092 หรือเบอร์ที่โรงเรียน 213-385-3665 หรืออีเมล์ peena@languagesystems.com , peena.kay@gmail.com
โอกาสทางการศึกษา
ใน ระดับมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นเมืองไทยจะต้องสอบแข่งขันเพื่อแย่งที่นั่ง ที่เรียนกันวุ่นวาย นักเรียนต้องเครียดกับการสอบเอนทรานซ์ เฮ้อ...ช่างเป็นระบบที่เครียดจริงๆ ผิดกับที่อเมริกา ที่โอกาสทางการศึกษามีมากมาย นักเรียนขา...มาถึงอเมริกาทั้งที มาหาสาระ+ บันเทิงกับการเรียนกันเถอะ
เมื่อแรกที่ตัดสินใจมาอเมริกา สำหรับนักเรียนก็คือการมาเรียน แล้วนักเรียนไทยส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นที่อยากมาเรียน MBA, Engineer, Finance, Law…และอีกหลายๆ สาขาวิชายอดฮิตในเมืองไทย เก๋เองก็เหมือนกัน โหย...อุตส่าห์ทำงานด้านการตลาดมาเกือบ 10 ปี แถมสอย MBA มาแล้วเรียบร้อย เอาล่ะ...ตัดสินใจทันทีว่าจะมาต่อ Ph.d : Marketing ให้มันรู้แล้วรู้รอดไป กะว่าจะมาเรียนภาษาซัก 2 ปี (เพราะภาษาอังกฤษแย่มาก) สอบ Toefl ให้ผ่าน แล้วหอบประสบการณ์การทำงานไปสมัครตามมหาวิทยาลัยดังๆ เช่น UCLA, USC อะไรประมาณนั้น แต่พอมาถึงเครียดค่ะ...เครียดอยู่หลายเดือน เพราะรู้สึกกดดันเรื่องภาษา เรื่องเรียน เรื่องค่าใช้จ่าย เรื่องหางาน ระหว่างเครียดก็อ่านค่ะ อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า โดยเฉพาะพวกใบโฆษณา ประกาศต่างๆ ที่ส่งๆ มาที่บ้าน แล้วก็ค้นพบอะไรหลายๆ อย่างจากการอ่านนี่แหล่ะค่ะ ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องการศึกษา
เจอปฏิทิน ตารางการศึกษา ของหลายโรงเรียนมีอะไรน่าสนใจมากมายเลยค่ะ สนุกใหญ่เลยทีนี้ ดูไป นั่นก็น่า เรียน นี่ก็น่าเรียน มีทั้งเรียนเอาใบประกาศนียบัตรระยะ 3-6 เดือน เรียนเอาปริญญา 1.5-4 ปี และเรียนเอาความรู้ สั้นๆ 1-5 สัปดาห์ รู้สึกทึ่งมาก ทุกอย่างเป็นการเรียนไปหมดเลย บางอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเอามาเปิดสอนเป็นเรื่องเป็นราวได้ก็มี เลยทำให้ติดอ่านโฆษณา
อย่างหนึ่งที่นิยมมากในอเมริกาคือ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ( RVN, RN) อะไรคืออะไรบ้าง ตอนนี้ก็ยังไม่แม่นข้อมูลเท่าไหร่ 555...(รู้อย่างเดียวเยอะจัง) แล้วก็กำลังเป็นที่สนใจของเหล่านักเรียนไทย เนื่องด้วยค่าจ้าง ผลตอบแทนสูงนั่นเอง บังเอิญค่ะ เก๋มีเพื่อนคนหนึ่งเป็นพยาบาลจากเมืองไทย มาสอบไลเซ่น สอบผ่านด้วยค่ะ แต่ไม่มีโซเซียลฯ ก็ไม่สามารถได้ไลเซ่นเพื่อไปทำงาน เห็นบอกว่าถ้ายื่นขอวีซ่าทำงานประเภท H ก็ต้องรอคิว ซึ่งมีพยาบาลต่างชาติรอคิวอยู่ 3-5 แสนราย (5 ปีจะหมดหรือป่าวก็ไม่รู้) ประกอบกับทางอเมริกาเองก็มีกระตุ้นให้พลเมือง เรียนพยาบาล เพื่อไม่ต้องจ้างพยาบาลต่างชาติ เรียกว่ามีแผนกีดกันนั่นเอง
ส่วนน้องอีกคนนึง เคยเป็นนักเรียนที่โรงเรียนที่เก๋ทำงาน เค้าไปเรียนพยาบาล ที่ College แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับต้นๆ ของแคลิฟอร์เนีย เรียนได้ 1 ปีแล้ว ได้แต่เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เพราะต้องเข้าคิวเพื่อจะเรียนโปรแกรม พยาบาลจริงๆ 2 ปี ว่าจะได้เป็นพยาบาลอย่างต่ำๆ คง 4-6 ปี ตอนนั้นพลเมืองอเมริกันที่จบพยาบาลก็คงเต็มเมืองไปหมด แล้วจะไปแย่งงานกับเค้าได้ไหมเนี่ย ว่าแล้วก็บ๊ายบาย...พยาบาล ไม่เอาดีกว่า
คือตอนนั้นเก๋ก็เปลี่ยนใจไม่เรียนอย่างที่ตั้งใจละ ก็หาไปเรื่อยๆ ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง ระหว่างหาก็ไปเรียนอะไรสั้นๆ แค่พอสนองความอยากรู้ เช่น Palarlegal: UCLA extension, Photo: SMC extension, Real estate: WLACC extension เป็นต้น มีคนถามว่ารู้ได้ยังไงว่าที่ไหนมีอะไรเรียน ก็แหม...อินเตอร์เน็ตไงคะ เข้าเว็บไซต์ของสถาบัน แล้วก็ระบุคำที่เราอยากรู้ ก็จะมีเยอะแยะมากมาย แล้วก็สมัครรับวารสารจากโรงเรียนซะด้วย เดี๋ยวก็ส่งมาที่บ้านเต็มไปหมด สำคัญคือขยันอ่านหน่อย อ่านมากรู้มากค่ะ
แล้วที่รู้อีกอย่างคือ การต่อรอง ที่นี่เค้าให้โอกาสสำหรับทุกคนที่อยากเรียน ไม่แน่ใจว่าจะชอบไหม หรือจะเรียนได้ไหม ก็ขอทดลองเรียนได้ และที่สำคัญมีข้อจำกัดอะไรก็บอกเค้า อย่าอาย มีอะไรก็บอกเค้าไปตรงๆ แล้วเค้าก็จะช่วยหาทางออกให้ เช่น ตอนนี้ยังไม่ได้สอบ Toefl แบงค์สเตทเม้นยังไม่พร้อม ขอเป็นนักเรียนพาสไทม์ก่อน เป็นต้น โรงเรียนที่เป็นเอกชน (บางสถาบันของรัฐก็ด้วย) ส่วนใหญ่จะอะลุ่มอล่วยให้ เอาเป็นว่าสงสัยอะไรก็ถาม แล้วก็หัดยื่นข้อเสนอ ไม่ต้องอายค่ะ ได้เค้าก็บอกว่าได้ ไม่ได้เค้าก็บอกว่าไม่ได้ แค่นี้เอง
แล้วในที่สุดเก๋ก็หาที่เรียนเป็นจริงเป็นจังได้ซะที Acupuncture & Oriental Medicine ก็คือการแพทย์ตะวันออก และการฝังเข็ม บังเอิญเพื่อนชาวมองโกเลีย เปิดเว็บไซต์ทิ้งไว้ เราเห็นก็สนใจแล้วก็คุยกัน ปรากฎว่าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เปิดมากว่า 80 ปี และเป็นมหาวิทยาลัยฝังเข็มที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา หลักสูตรเป็นปริญญาโท 4 ปี และปริญญาเอก 2 ปี ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านการแพทย์ เพียงแค่จบเทียบเท่าปริญญาตรีก็เรียนได้แล้ว (เรียนให้จบก็แล้วกัน) แถมยังสามารถเทียบโอนบางวิชาได้ด้วย โอ้ว...เก๋ศึกษาข้อมูลในเว็บไซต์อยู่หลายวัน จนแน่ใจว่านี่คือสิ่งที่เราอยากเรียน
1. เป็นสาขาวิชาที่น่าสนใจ
2. เป็นวิชาชีพเฉพาะทางอยู่ที่ไหนก็ทำมาหากินได้
3. ได้ดีกรีเป็นหมอ
4. ค่าเรียนไม่แพง
5. เวลาเรียนเหมาะเจาะ (เรียนเฉพาะตอนเย็น 6-9 pm)
6. เมื่อเรียนจบแล้ว ไปสอบไลเซ่นให้ผ่าน ก็สามารถเปิดคลินิค หรือทำงานในโรงพยาบาลได้
7. เนื่องจากเป็นปริญญาโท เมื่อฝึกงาน (OPT) ก็จะได้หมายเลขโซเซียลทันที ถ้าเทียบกับพยาบาลเป็นแค่ประกาศนียบัตร ไม่มี OPT ก็ไม่ได้โซเซียล
8. ยังมีคนเรียนน้อย โอกาสด้านการทำงาน หรือ apply greencard ก็มีมากกว่า
9. เป็นการแพทย์ทางเลือกที่เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น และนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตจะเป็นตลาดที่กว้างมาก เป็นการลงทุนที่คุ้มทีเดียว ทั้งหมดนี้ก็คือการวิเคราะห์สำหรับการตัดสินใจของเก๋
ส่วนการติดต่อเข้าเรียนนั้น ก็ได้รับการบริการอย่างดีจากมหาวิทยาลัย และบังเอิญว่าที่นี่มีอาจารย์หมอ ที่เป็นคนไทยอยู่ด้วย ก็เลยได้รับความสะดวกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเก๋ต่อรองกับมหาวิทยาลัยหลายอย่าง เช่น ยังไม่มีผล Toefl และขอเป็นแค่ นักเรียนพาสไทม์ (คือยังไม่เอา I-20) เพราะอยากลองเรียนดูก่อนว่าเราเรียนไหวไหม ลงเรียนแค่เทอมละ 1-2 วิชา จนเมื่อพร้อม และมั่นใจค่อยย้ายมาเรียนเต็มเวลา เค้าก็โอเค
นี่เป็นแค่ตัวอย่างจากตัวเก๋เอง ส่วนเพื่อนนักเรียนที่อ่านคอลัมน์นี้ ก็ลอง เอาไปปรับใช้กับตัวเองดูนะคะ ที่แน่ๆ อ่านเยอะๆ รู้มากๆ จะเป็นการเพิ่มโอกาส อยากเรียนอะไรก็ได้เรียน ขอให้เรียนให้รอด ไม่ต้องลำบากสอบเอนทรานซ์ แข่งขันกันทีเป็นแสนๆ เหมือนอยู่เมืองไทย แล้วไหนๆ ก็มาถึงที่นี่แล้ว ให้มีอะไรติดไม้ติดมือกลับเมืองไทย และได้ภูมิใจในตัวเอง
สุดท้ายถ้าใครสนใจอยากเรียนเป็นหมอฝังเข็ม ก็โทร.มาถามรายละเอียดกับเก๋ได้ที่ โทร.310-990-8092 หรืออีเมล์ peena.kay@gmail.com จะได้มาช่วยกันเรียน อิอิ...
ตอน การลาพักร้อน และบริหารวีซ่า
ใกล้ ถึงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ไทยกันแล้วจ้า หลายๆ คนก็อยากจะกลับไปเยี่ยมบ้านให้หายคิดถึงใช่หรือป่าวเอ่ย...นั่นแน่...กำลัง คิดจะลาพักร้อน (Take Vacation) กันอยู่ล่ะสิ ยังไงก็อย่าลืมบริหารวีซ่ากันด้วยนะจ๊ะ เอ๊ะ...แล้วทำยังไงล่ะ -_-?
ช่วงนี้เป็นช่วงขายตั๋วเครื่องบินดีมาก เพราะว่าน้องๆ ต่างก็อยากจะกลับเมืองไทยไปร่วมเทศกาลสงกรานต์ทั้งนั้น นอกจากจะได้เล่นน้ำ สนุกสนาน ยังได้กลับไปพบญาติพี่น้องพร้อมหน้า เนื่องในวันครอบครัวอีกต่าง หาก เรียกว่าบินทีเดียวคุ้มไปทั้งปี อิอิ...แต่ระวังนะคะ เที่ยวน่ะคุ้ม แต่ จะไม่คุ้มอย่างอื่นน่ะสิ ถ้าไม่บริหารวางแผนให้ดีๆ พักร้อนคราวนี้อาจจะไม่ หายร้อน แถมจะร้อนเกินจุดเดือด (ร้อน) อีกต่างหาก
น้องเต้ น้องวิ และน้องตาล : พี่ครับ/คะ พวกเราจะกลับเมืองไทยต้องทำยังไงมั่งครับ/ค่ะ
เก๋ : ก่อนอื่นก็ต้องซื้อตั๋วเครื่องบินกับพี่ก่อนค่ะ 555...ล้อเล่น (แต่เอาจริง อิอิ) อ่ะ...งั้นก็ต้อง Take Vacation กันจ้ะ โดยการนำสำเนาตั๋วเครื่องบิน และ I-20 ฉบับล่าสุดมา ให้พี่นะคะ แล้วรอ 2 วันค่อยมารับ I-20 คืน จากนั้นก็นำ I-20 นี้ติดตัวกลับเมืองไทยไปด้วย ตอนขากลับมาก็ยื่นให้ Immigration ดูตอนเข้าค่ะ
เต้ : พี่ ขายตั๋วด้วยเหรอครับ ราคาถูกป่าวครับพี่ พวกผมยังไม่ได้ซื้อตั๋วพอดี เผื่อ จะได้ซื้อกับพี่เลยทีเดียว พี่จะได้จัดการเรื่อง Vacation ให้ด้วยเลย 555...(อ่ะนั่น กะใช้บริการครบวงจรเลยนะเนี่ย) แล้วพวกผมกลับได้กี่วันครับ เห็นคนอื่นๆ เค้าบอกว่ากลับได้ 2 เดือน
เก๋ : จ้า...ถ้าออกนอก
ตาล : อ้าว...แล้วเราขอลาให้ครบ 60 วันได้ไหมคะ แบบว่ากลับเมืองไทยเดือนนึง แล้วอยู่ในเมกาฯ เดือนนึงน่ะค่ะ
เก๋ : ไม่ได้จ้า ฟังน๊า...การลาพักร้อน (Vacation) มี 2 อย่าง คือ ลาพักร้อนอยู่ในเมกาฯ ได้ 3 สัปดาห์ หรือลาพักร้อนออกนอกเมกาฯ ได้สูงสุด 60 วัน ทั้ง นี้นักเรียนสามารถใช้สิทธิ์ลาพักร้อนได้ทุกๆ เทอม (ถ้าเทอมเป็นแบบคอว์เตอร์ ก็ทุก 3 เดือน ถ้าเป็นแบบซิแมสเตอร์ ก็ทุก 4 เดือน แต่ถ้าเป็น Graduate Student คือนักเรียนที่เรียนใน Colleges or University จะใช้สิทธิ์พักร้อนได้ 1 เทอมตลอดโปรแกรมการศึกษา เช่น ป.โท เรียน 2 ปี แล้วเรียนแบบซิแมสเตอร์ ตลอด 2 ปีโปรแกรมการศึกษา สามารถใช้สิทธิ์ได้แค่ 1 ครั้ง คือ Drop ไปเลย 1 เทอม
ทั้งนี้เพราะว่าในแต่ละเทอมเค้าจะมี School Vacation ระหว่างเทอมอยู่แล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งก็เพียงพอแล้วไงล่ะ ส่วนสำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาอยู่ในโรงเรียนสอน ภาษาเอกชน โรงเรียนก็ใช้กฎของอิมฯ ให้ลาพักร้อนได้ 3 สัปดาห์ระหว่างเทอม หรือ ทุก 3 เดือนลาพักร้อนได้ 1 ครั้งไง) ซึ่งน้องจะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างนึง จะเอามารวมกันไม่ได้นะจ๊ะ นอกซะจากน้องจะกลับเมืองไทยแค่ 2 สัปดาห์ แล้วกลับมาพักร้อนที่เมกาฯ ต่ออีก 1 สัปดาห์น่ะได้จ้า
วิ : แต่พี่คะ หนูเพิ่ง Take Vacation ไปเมื่อเดือนที่แล้ว แล้วจะ Take อีกได้ไหมคะ
เก๋ : งั้นพี่ขอเปิดดูข้อมูลของหนูก่อนนะคะ...อ่ะ หนูเพิ่งจะลาพักร้อนไปเมื่อเดือนธันวาคม แล้วคาดว่าจะกลับเมืองไทยวันไหนคะ
วิ : น่าจะปลายเดือนมีนาคมค่ะพี่
เก๋ : คือว่าของน้องวิ ลาพักร้อนไปเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ถ้าจะกลับเมืองไทยก็กลับได้หลังวัน ที่ 10 มีนา นะคะ นับไป 3 เดือนไง ระวังหน่อยน๊า คราวหน้าอย่าใช้พักร้อนพร่ำเพรื่อ จะพักร้อน ก็วางแผนยาวๆ หน่อย อย่างถ้ารู้แน่ๆ ว่าจะกลับเมืองไทยช่วงไหน ก็นับย้อนหลังมาระหว่าง 3 เดือนนั้นก็อย่าลาพักร้อน ไม่งั้นก็อด คราวนี้โชคดีไป เฉียดฉิวมากเลย
เต้ : แต่พี่ครับ พักร้อนในเมกาฯ เนี่ยได้ 1 เดือน ไม่ใช่เหรอครับ คราวที่แล้วผมลาได้ตั้งเดือนนึงแน่ะ
เก๋ : คราวที่แล้วน่ะ เดือนไหนคะ วันที่เท่าไหร่จ๊ะ ไหนๆ พี่ดูข้อมูลของเต้ก่อน.... อ่อ คราวที่แล้วเต้ลาไปเมื่อเดือนกันยายน ซึ่งรวมกับ School Vacation 1 สัปดาห์ ก็เลยได้ 4 สัปดาห์ 1 เดือน ไงคะ ถ้ามาพักร้อนตอนกลางเทอม ซึ่ง ไม่มี School Vacation ก็ได้แค่ 3 สัปดาห์แหละจ้า คือว่าโรงเรียนจะหยุด 1 สัปดาห์ ระหว่างเทอม ถ้าใครมาลาพักร้อนช่วงนั้นก็ถือว่าได้โบนัสไปอีก 1 สัปดาห์
ตาล : แล้วระหว่างที่หนูพักร้อน หนูขอเงินคืนได้ป่าวคะ เพราะตั้งเป็นเดือนเลยอ่ะพี่ หนูก็ขาดทุนน่ะสิ หนูไม่ได้เรียนนี่คะ
เก๋ : ไม่ ต้องๆ จ้า เดี๋ยวพี่จะยืดเวลา Due date ขอไปให้เท่ากับเวลาที่หนูพักร้อนน่ะแหละค่ะ โรงเรียนไม่เอาเปรียบขนาดนั้น ทำงั้นรวยแย่เลย 555 อ่ะ...แต่ถ้าถึง Due date ชำระค่าเรียนพอดีก็ต้องจ่ายไว้ก่อนไปนะจ๊ะ
วิ : พี่คะ คือว่าของหนู I-20 จะหมดอายุเดือนหน้า พี่จะเปลี่ยนใหม่ให้หนูก่อนกลับเมืองไทย หรือว่ากลับมาแล้วค่อยเปลี่ยนคะ
เก๋ : เหรอ...เดี๋ยวนะดูก่อน.... อ้าว นี่น้องเรียนที่นี่มา 3 ปีแล้วนี่คะ งั้นต้อง Transfer ออกไปเรียนที่อื่นแล้วนะคะ
วิ : ครบ 3 ปีแล้วเหรอคะพี่ แล้วหนูต้องทำยังไงอ่ะคะ หนูยังไม่รู้จะไปเรียนอะไรเลยอ่ะค่ะ
เก๋ : ครบสิ้นเดือนนี้แล้วค่ะน้อง หนูต้องไปหาโรงเรียนแล้วล่ะ สอบโทเฟลหรือ ยัง ถ้าสอบแล้วก็เอาผลโทเฟลไปยื่นสมัครเรียน แล้วก็เอาใบ Transfer จากโรงเรียนใหม่มาให้พี่นะคะ หนูมีเวลานับจากสิ้นเดือนนี้ไปอีก 60 วันน่ะ
วิ : พี่ เก๋พอจะมีโรงเรียนแนะนำหรือป่าวคะ ที่ไม่เอาผลโทเฟล หนูยังไม่ได้สอบเลย สอบตอนนี้ก็คงไม่ผ่านหรอกค่ะ แล้วหนูก็ไม่อยากไปเรียนคอมพิวเตอร์ที่เค้าไปเรียนๆ กันด้วยอ่ะ (น้องคะ อะไรที่มันง่ายๆ และดีๆ ไม่มีในโลกหรอกค๊า...)
สำหรับ น้องนักเรียนส่วนใหญ่ มาถึงแล้วก็ทำงานๆ จนลืมวางแผนการเรียน พอรู้ตัวอีกทีก็ลนลานกันทุกคน สำหรับนักเรียนต่างชาติส่วนใหญ่จะได้วีซ่า 5 ปี ทั้งนี้ทางอิมฯ เค้าก็มีกฎของเค้าค่ะ ต้องบริหารดีๆ นะคะ กฎก็คือว่า นักเรียนสามารถใช้เวลาในการเรียนภาษาได้ 2-3 ปี หลัง จากนั้นจะต้องเข้าเรียนต่อในระดับ College หรือ University ทั้งนี้ทางอิมฯ เค้าก็คำนวณมาพอดี แถมเผื่อให้ด้วยแล้ว ปกติคนเรามาอยู่ใน แวดล้อมที่ต้องใช้ภาษา อีกทั้งเรียนไปด้วยระยะเวลา 2 ปีนี่ก็พอที่จะใช้ภาษา ได้ดีแล้ว จากนั้นก็เรียนต่อในระดับการศึกษา โปรแกรมส่วนใหญ่ก็จะ1.5 ปี ถึง 2 ปี เผื่อให้อีก 1 ปีเป็น 5 ปีพอดี (หลายคนสงสัยว่าทำไมให้ตั้ง 5 ปี นี่แหล่ะค่ะคำตอบ) ดังนั้น ก็อย่าทำงานเพลินจนลืมวางแผนบริหารวีซ่านะจ๊ะ
อ่อ... มีน้องบางคน ตอนมาถึงใหม่ๆ คิดถึงบ้าน อยากกลับบ้าน เลยใจร้อน รีบๆ เรียน แล้วก็สอบโทเฟล แล้วก็เข้ามหาวิทยาลัย จนกระทั่งจบใช้เวลาแค่ 2.5 – 3 ปี เท่านั้น เสร็จแล้วปรากฏว่า ความคิดถึงบ้านมันหาย อยากจะอยู่ต่อซะงั้น ก็แหมเห็นว่าวีซ่ายังเหลืออีก ตั้ง 2 ปี ก็เลยจะกลับมาลงเรียนภาษา อืม...จริงๆ มันก็ได้ แต่ได้แค่ 6 เดือน ดัง นั้น ขอตอบเหมาว่าไม่ได้ก็แล้วกันค่ะ ลองคิดดูสิคะว่าเรียนมาจนจบโปรแกรมศึกษา แล้วก็แสดงว่าภาษาแน่นแล้วล่ะ ดังนั้น ก็ไม่มีเหตุผลที่จะมาเรียนภาษาอีกแล้วนี่คะ ส่วนที่บอกว่า 6 เดือน ก็คือ เรียนได้ก็จะเป็น TOEIC หรือ TOFLE เท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าต้องสอบเพื่อไปสมัครงาน หรือจะอีกวิธีก็คือไปลงเรียนอย่าง อื่นที่เป็นโปรแกรมการศึกษา (บางคนรู้แต่ไม่อยากเพราะต้องใช้เงินเยอะนั่นเอง)
ส่วน ใครที่บริหารดีมากใช้วีซ่า 5 ปีจนคุ้ม แต่ก็ยังไม่อยากกลับอีกก็ง่ายๆ ค่ะ หาที่เรียนต่อไปค่ะ ต่อ I-20 ไปเรื่อยๆ อยากจะอยู่ซัก 10 ปีก็ไม่มีใครว่า ตราบใดยังมี I-20 อยู่ในครอบครอง แต่ถ้ากลับเมืองไทยก็ต้องขอวีซ่ามาใหม่นะคะ เรียกกันง่ายๆ ว่า มี I-20 อยู่อย่างถูกกฎหมาย ถึงแม้วีซ่าจะหมดอายุแล้วก็ตาม แค่กลับเมืองไทยไม่ได้แค่นั้นเอง
เห็น ไหมคะ จะทำอะไร ก็วางแผนให้ดีๆ โดยคำนึงถึงวีซ่า และระยะเวลาเป็นหลัก อย่าเพลินจนวินาทีสุดท้าย ที่นี่อเมริกา นับว่าเป็นประเทศที่มีทั้งอิสระ และโอกาสมากมาย อยากเรียนอะไรก็ได้เรียน ไม่ต้องมานั่งสอบเอ็นทรานซ์เหมือนเมืองไทย มาถึงแล้วก็คว้าโอกาสไว้นะคะ ตอน หน้าเรามาคุยเรื่องโอกาสการศึกษา และการทำงานที่อเมริกากันดีกว่าเนอะ... ส่วนน้องๆ คนใดจะกลับเมืองไทย ก็มีตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษสำหรับนักเรียน อ่อ...แล้ว ก็แพคเกจทัวร์ราคากันเอง ติดต่อสอบถามได้ที่อีเมล์ peena.kay@gmail.com หรือ โทร. 310-990-8092 ค่ะ
ตอน Re-entry ผลกระทบแรกจากกฎการย้ายโรงเรียนใหม่
การ Re-entry มาจากหลายเหตุผล แต่จะจากเหตุผลใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่เปลืองเงินโดยใช่เหตุ เสียเวลาอีกต่างหาก และเป็นผลกระทบที่เห็นทันตาจากกฎการย้ายโรงเรียนใหม่ (ปวดหัวๆ -_-? )
ตอน แรกก็นึกว่าไม่มีอะไรมาก ก็แค่ไปติดต่อโรงเรียนใหม่ตอนใกล้ๆ จะครบ 60 วันก็โอเค...เฮ้อ ที่ไหนได้ มีเรื่องยุ่งกระทบมาซะงั้น น้องตั๊กมาติดต่อ เพื่อย้ายมาเรียนกับเรา ทุกอย่างเพอร์เฟค เอกสารพร้อม เงินพร้อม แต่เดี๋ยว ก่อน...
น้องตั๊ก - พี่คะหนูจะกลับเมืองไทยก่อนแล้วค่อยมาเริ่มเรียนค่ะ หนูกลับไปได้ 60 วันใช่ ไหมคะ (อ่ะนะ...ข้อมูลดีนะเนี่ยคนนี้) แล้วนี่ก็ตั๋วเครื่องบินค่ะพี่ ทาง โรงเรียนจะออก I-20 ให้ทันหนูบินไหมคะ
(^_^) ถูกแล้วค่ะ ปกตินักเรียนสามารถขอพักร้อนระหว่างเทอม ออกนอกประเทศได้ 60 วัน ตามที่เคยเขียนไป ซึ่งนักเรียนที่ย้ายโรงเรียนก็ใช้สิทธิ์นี้ไปพร้อมๆ กันนั่นเอง
เก๋ - ปกติมันเคยเป็นแบบนั้นค่ะ แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้วล่ะ เพราะทางอิมฯ เค้า เปลี่ยนกฎใหม่ หนูจะต้องเริ่มเรียนในวันแรกที่โรงเรียนเปิดเรียน ของเราเปิด ทุกวันจันทร์ ดังนั้นวันจันทร์หน้านี้หนูต้องเริ่มเรียน หนูยังกลับเมืองไทย ไม่ได้ค่ะ จะกลับได้ก็หลังจากเรียนไปแล้ว 3 เดือน (หรือ 1 เทอม) เป็นการลาพักร้อนตามปกติค่ะ
น้องตั๊ก - แต่หนูซื้อตั๋วเครื่องบินแล้ว หนูจะทำยังไงดีคะพี่
เก๋ - งั้น หนูคงต้องทำเรื่อง Re-entry ค่ะ ด้วยการเอาตั๋วเครื่องบินใบนี้ไปให้โรงเรียนเดิม แล้วทำเรื่องลาออก เพื่อกลับประเทศไทย ซึ่งทางโรงเรียนเค้าจะทำการ Terminated สถานะของหนูออก จาก SEVIS แล้วคราวนี้หนูก็มาทำเรื่องขอ I-20 จากที่โรงเรียนใหม่ แต่หนูจะ ต้องเสียเงินค่า SEVIS ใหม่อีก $200 (เมื่อก่อนแค่ร้อยเดียว พี่อิมฯ แกขึ้นที $100 งกจริงๆ จะแพงไปไหนเนี่ย...) ทำเหมือนเมื่อตอนแรกๆ ที่ทำเรื่องจากเมืองไทยมาเรียนที่นี่ น่ะค่ะ ซึ่งสถานะของหนูก็จะกลายเป็น New Oversea Student ไม่ใช่ Transfer Student
น้องตั๊ก - เหวอ...นี่หนูต้องย้อนกลับไปที่โรงเรียนเดิม และเสียเงินค่า SEVIS ใหม่อีก $200 เหรอคะ โห...ทำไมใจร้ายอย่างนี้อ่ะคะ มีวิธีอื่นอีกไหมคะพี่
เก๋ - โอย...ถึงจะทำตาวิ้งๆ ใส่พี่ยังไง พี่ก็ช่วยไม่ได้อ่ะค่ะ พี่ไม่ใช่อิมฯ น๊าค๊า อืม...ตอนนี้ยังไง ซะหนูก็ต้องเสียเงินไม่ว่าจะกลับหรือไม่กลับ หนูลองโทร.ไปถามสายการบินว่า ตั๋วหนูน่ะสามารถเลื่อนได้หรือป่าว ต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็ 20% ถ้าไม่เกิน $200 พี่ว่าหนูเลื่อนดีกว่า เพราะไงก็ถูกกว่า $200 ค่า SEVIS แต่ถ้ามันเกิน $200 และจำเป็นต้องกลับจริงๆ หนูก็กลับไปเหอะ (พอดีขายตั๋วเครื่องบินด้วยเลยรู้ อิอิ)
ปิด ท้ายด้วยเรื่องการลาออกจากโรงเรียน ถ้าไม่แน่ใจว่าจะกลับประเทศจริงๆ อย่าไปให้เหตุผลว่าจะกลับเด็ดขาด ไม่งั้นถ้าเกิดเปลี่ยนใจจะอยู่ต่อทีหลัง ก็ต้องทำเรื่อง Re-entry เหมือนกัน เสียเวลา เสียเงินโดยใช่เหตุค่ะ
น้องทอม – ฮัลโหล...พี่ครับผมจะมาสมัครเรียนที่โรงเรียนพี่ได้ไหมครับ
เก๋ - ได้สิคะ ยินดีต้อนรับค่ะ ถ้าตอนนี้เรียนที่อื่นอยู่ก็มาเอาใบ Transfer ไปให้กับโรงเรียนนะคะ
น้องทอม – คือว่าผมเรียนจบไปตั้งแต่เดือนที่แล้ว ทีนี้ตอนนั้นผมบอกเค้าว่าผมจะกลับ เมืองไทย พร้อมให้ตั๋วเครื่องบินเค้าไปด้วยครับ แต่ผมเปลี่ยนใจจะอยู่ต่อ ไม่น่าจะมีปัญหาใช่ไหมครับ เพราะยังไม่เกิน 60 วัน
ฉลาด นะเนี่ย ปกตินักเรียนที่เรียนเต็มเวลา (Full time student) และเรียนที่อเมริกา 3 เดือนขึ้นไป ถ้าจะกลับประเทศ พี่อิมฯ ใจดีจะให้อยู่เที่ยวอเมริกา ก่อนกลับได้ 30 – 60 วัน (60 วันอีกแล้วครับท่าน) คุณน้องทอมเลยเอามารวมกับ 60 วันย้ายโรงเรียนซะงั้น
เฮ้อ... คุณผู้อ่านคะ นักเรียนส่วนใหญ่มักรู้กฎแล้วก็เอามาแถ...ใช้ด้วยกัน แบบหัวหมอค่ะ แต่ลืมสนใจรายละเอียดของกระบวนการนี่สิคะ เลยพลาดตกบันไดลิงกันระนาว...
ถ้า นักเรียนให้เหตุผลการออกจากโรงเรียนว่ากลับประเทศ พร้อมยื่นตั๋วเครื่อง บิน ทางโรงเรียนก็จะทำการ Terminated เท่ากับสถานภาพการเป็นนักเรียนสิ้นสุดลง อ่ะ...ก็เช็คสิคะ เข้า ไปดูใน SEVIS ค่ะ ว่าสถานภาพของน้องเค้าเป็นยังไง ยังสบายดีอยู่ไหม ... แท่น แท๊น... ตายสนิท Terminated เรียบร้อยโรงเรียนอเมริกา
เก๋ - ทาง โรงเรียนเค้า Terminated น้องไปแล้วค่ะ น้องต้องออกจากอเมริกาสถานเดียว แต่ถ้าอยากเรียน ต่อจริงๆ ก็ทำเรื่อง Re-entry ได้ค่ะ มาขอ I-20 จากที่นี่ แล้วก็จ่ายค่า SEVIS ใหม่อีกครั้ง $200 ค่ะ แต่กลับเมืองไทยได้ไม่เกิน 4 เดือนนะคะ ถ้าเกินต้องขอวีซ่าใหม่ค่ะ หมายความว่า...น้องจะกลับมาโดยใช้วีซ่าเดิมได้ภายในเวลา 4 เดือน (แปลไทย เป็นไทยให้อีกด้วยอ่ะ) และถึงจะกลับไปเรียนที่โรงเรียนเดิมก็ต้อง Re-entry เหมือนกัน เพราะสถานภาพนักเรียนขาดไปแล้วน่ะ
น้องทอม – ครับพี่ $200 เลยเหรอครับ (เสียงสลดน่าเห็นใจจริงๆ)
เก๋ - ใช่ แล้ว รวมค่าสมัคร และมัดจำค่าเรียนอีกก็เท่ากับ......ค่ะ อ่อ...อย่านอนใจมาขอ I-20 ตอนใกล้ๆ วันบินนะคะ เช่นจะบินพรุ่งนี้มาทำวันนี้ พี่ทำให้ไม่ได้น๊า...อย่างน้อยต้อง 3 วัน ถ้าจะให้ดีล่วงหน้าอาทิตย์นึงดีที่สุดจ้า
เข้า ใจว่านักเรียนหลายๆ คนไม่มีการวางแผน ไม่แน่นอนในชีวิต ว่าจะเอายังไงกันแน่ กลับดี หรือจะอยู่ต่อดี ระหว่างการตัดสินใจไม่อยากเสียเงินค่าเรียน ก็เอางี้ละกันค่ะ แจ้งว่าจะ Transfer ดีที่สุด เพราะสามารถเปลี่ยนใจยังไงก็ได้ ไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลา พูดง่ายๆ ว่ารักษาสถานภาพไว้ให้ถึงที่สุดดีกว่านั่นเอง อ่อ...นอกจากกฎ 60 วันแล้วต้องนึกถึงกฎของโรงเรียนด้วยนะคะ เพราะบางโรงเรียนก็ให้เวลาย้ายแค่ 15 วันก็ต้องยึดกฎโรงเรียนเป็นหลัก ไม่งั้นเค้าก็ Terminated ได้ก่อน 60 วันเช่นกันค่ะ
ตอน กฎใหม่ของการย้ายโรงเรียน
พูด ถึงการย้ายโรงเรียนไปเมื่อ 2 ตอนก่อน ก็พอดีนึกขึ้นมาได้ว่า เมื่อเร็วๆ นี้มีกฎใหม่จากอิมมิเกรชั่น เรื่องของกฎ 60 วัน สนุกล่ะสิทีนี้ มีอะไรสนุกมาประลองสมองอีกแล้วสิ...อิอิ
นักเรียนอินเตอร์ฯ (International Student) ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนักเรียนไทย (ผู้เน้นการทำงานเป็นหลัก) จะย้ายโรงเรียนกันเป็นว่าเล่น เพราะต้องการใช้ 60 วันให้คุ้มค่า
ตามปกติแล้ว นักเรียนอินเตอร์ฯ สามารถขอใช้สิทธิ์ลาพักร้อนระหว่างเทอมได้คือ 3 สัปดาห์ สำหรับลาพักร้อน ใน
อ่ะ...กลับมาที่เรื่องย้ายโรงเรียนต่อ เพื่อให้ได้หยุดเรียนนานที่สุด ก็เลยใช้วิธีย้ายโรงเรียนกัน (แหมก็ได้ตั้ง 60 วัน โดยไม่ต้องเสียค่าตั๋วเครื่องบินกลับไทย ประหยัดได้ตั้งเยอะเนอะ) พอได้โรงเรียนก็แค่แจ้งวันที่เริ่มเรียนถัดไปจากวันสุดท้ายที่เรียนใน โรงเรียนเก่าให้ไม่เกิน 60 วัน แค่นี้ก็สบายแล้ว
แต่เดี๋ยวก่อน...เหอๆๆ...อิมมิเกรชั่นเค้ารู้ทันแล้วจ้า เลยออกกฎใหม่มาว่า นักเรียนที่ต้องการย้ายโรงเรียนจะต้องเริ่มเรียนเร็วที่สุด ตามวันเปิดเรียนของโรงเรียน (แต่กฎ 60 วันก็ยังอยู่นะ ไม่ได้หายไปไหน) หมายความว่า
1. นักเรียนอินเตอร์ที่เรียนภาษา โดยเฉพาะในโรงเรียนเอกชน จะเปิดรับนักเรียนใหม่ทุก
วันจันทร์ ดังนั้นถ้านักเรียนย้ายเข้ามาใหม่ก็ต้องเริ่มเรียนวันจันทร์ที่จะถึง ทันที แต่ถ้ามาสมัครวันจันทร์ก็ต้องเรียนวันจันทร์นั้นเลย (หึหึ...เป็นไง ล่ะ แสบจริงๆ คุณพี่อิมฯ) อ่ะน่ะ ... เป็นนักเรียนก็ต้องเรียนจะหยุดทำไมเยอะแยะเนอะ
2. ส่วนนักเรียนที่จะย้ายไปเรียนในมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัย ที่เป็นโปรแกรมการศึกษาจะเปิดรับนักเรียนใหม่ ทุกเทอม ดังนั้นนักเรียนจะต้องคำนวณ วันเริ่มเรียนให้ดีๆ ไม่ให้เกิน 60 วัน ถ้าเกินก็ต้องลงเรียนที่เดิมเพื่อรักษาสถานะไปก่อน (ซึ่งตรงนี้ก็ไปเกี่ยวข้องกับอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องเงิน ไว้ค่อยคุยทีหลัง)
ทั้งนี้การเริ่มเรียนจะเริ่มเรียนเร็วที่สุดหลังจากที่นักเรียนมาติดต่อขอย้ายนั่นเอง อิอิ...มองเห็นอะไรหรือยังคะ
สำหรับ น้องๆ นักเรียนไทย อะไรช่วยได้ก็ช่วยเต็มที่ค่ะ แม้จะต้องละเมิดกฎของโรงเรียนไปบ้าง (แบบไม่เสียหายมาก) ก็ช่วยค่ะ เช่น เมื่อวานนี้ “วันจันทร์” ซึ่งเป็นวันเปิดเรียนของโรงเรียน (ที่ทำงานอยู่) ตอนช่วงเช้า มีน้องคนไทยมาติดต่อขอย้ายมาเรียนที่นี่ เตรียมเอกสารมาครบเลย (น่ารักมาก) แล้วจะลงเรียนภาคค่ำ โอเค...
- งั้นน้องก็ต้องเริ่มเรียนวันนี้เลยนะคะ
- เหวอ....วันนี้เลยเหรอครับ ผมว่าจะเริ่มเรียนปีหน้าครับ
- แหม...น้องช่างโชคดีอะไรเช่นนี้ พอดีสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายพอดี 2 สัปดาห์หน้า
เป็นวันหยุดของโรงเรียน จะเปิดเทอมอีกทีก็วันที่ 5 มกราคม 2009 งั้นเอางี้นะคะ...พรุ่งนี้น้องค่อยมาใหม่ วันนี้พี่จะเก็บเอกสารของน้องไว้ ก่อน พรุ่งนี้ค่อยมาทำเรื่อง ทำเป็นว่าวันนี้น้องไม่ได้มาก็แล้วกัน
ก็ ไม่ได้จะช่วยแบบนี้ทุกครั้งไปนะคะ พอดีเห็นว่ามาเรียนแค่สัปดาห์เดียว แล้วโรงเรียนก็ปิด มันขาดตอนอ่ะ แล้วอีกอย่าง สัปดาห์สุดท้ายแบบนี้ อาจารย์เค้าก็ไม่ค่อยจะสอนอะไรแล้ว ส่วนใหญ่ก็แค่คุยๆ กันไป อีกอย่างนักเรียนก็ไม่ค่อยจะมาเรียนหนังสือ เทอมหน้าก็จะเปลี่ยน ซื้อไปก็ต้องซื้อใหม่อีกมันเปลือง (อันนี้เจอมากะตัว อย่างเซ็ง...) คิดๆ ดู มีแต่ขาดทุนกับขาดทุน เห็นใจค่ะ ขอหลับตาข้างนึง ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ช่วยๆ กันไปดีกว่าเนอะ...555
การย้ายโรงเรียน (Transfer) ตอนที่ 2 ทำตามขั้นตอน
เรื่อง ของการย้ายโรงเรียน เมื่อเรารู้กฎที่สำคัญๆ คือ กฎ 60 วันของ Immigration และกฎของโรงเรียนแล้ว ที่นี้ก็ต่อด้วยการดำเนินการตามขั้นตอน คือ เอกสาร และการติดตามผล นักเรียนบางคนชะล่าใจไม่ได้ติดตามผล ก็ทำให้ out of status ได้เช่นกัน
เมื่อคำนวณได้เวลาที่จะย้ายโรงเรียนแล้ว ไม่ว่าจะย้ายออก หรือย้ายเข้า ก็ตามด้วยไปติดต่อขอใบ Transfer In Form จาก “โรงเรียนใหม่” มากรอกข้อมูลส่วนตัว และวันที่เริ่มเรียนใน “โรงเรียนใหม่” มาให้กับ “โรงเรียนปัจจุบัน” พร้อมทั้งกรอกใบ Transfer out Form ณ ขั้นตอนนี้เพื่อไม่ให้เสียเวลาย้อนไป ย้อนมา ถาม “โรงเรียนปัจจุบัน” ด้วยว่า
2. เมื่อทาง “โรงเรียนปัจจุบัน” ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะส่ง Fax. ไปให้กับ “โรงเรียนใหม่” เอง หรือว่านักเรียนต้องไปรับ แล้วไปส่งด้วยตัวเอง คือ ส่วนใหญ่แล้วทางโรงเรียน จะติดต่อกันเอง แต่บางที่ก็ไม่ ถ้ายังไงก็ถามไว้น่ะดีที่สุดค่ะ เพราะถ้าไม่ถาม แล้วคิดว่าทางโรงเรียนจะติดต่อกัน แล้วปรากฏว่าจนไปเริ่มเรียนการย้ายโรงเรียนยังไม่เรียบร้อยก็จะเสียเวลา ซ้ำรายบางคน I-20 จาก “โรงเรียนปัจจุบัน” หมดอายุไปแล้ว อีกทั้งเกินเวลา 60 วัน ปัญหาใหญ่ล่ะทีนี้
เมื่อทาง “โรงเรียนปัจจุบัน” จัดการเซ็นเอกสารทุกอย่างแล้ว ก็จะส่งใบ Transfer In Form ไปให้กับทาง “โรงเรียนใหม่” (หรือนักเรียนเอาไปให้เอง) จากนั้นการย้ายจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ “โรงเรียนใหม่” โทร. มา Release กับ “โรงเรียนปัจจุบัน” เพราะโรงเรียนไม่มีสิทธิ์ Release นักเรียนโดยพลการ ทั้งนี้จะต้องมีการแจ้งต่อ SEVIS ว่าสถานภาพของนักเรียนเป็นอย่างไร ถ้าโรงเรียนจะแจ้งการพ้นสภาพนักเรียนจะเรียกว่า Terminated ซึ่งการทำเช่นนี้ได้ก็มีหลายเหตุผล ไว้คุยคราวหน้านะจ๊ะ
ดัง นั้น นักเรียนเมื่อจัดการเอกสารเรียบร้อย การติดตามผลว่าเรียบร้อยหรือยังควรติดตามจากทั้ง 2 โรงเรียน เพื่อไม่ให้มีข้อผิดพลาดค่ะ อย่าขี้เกียจนะคะ ไม่งั้นยุ่งแน่เลย...
การย้ายโรงเรียน (Transfer) ตอนที่ 1 กฎที่ต้องรู้
เมื่อไหร่ที่คุณนักเรียนทั้งหลายคิดจะย้ายโรงเรียน สิ่งที่ต้องคิดเป็นอันดับแรกคือ กฎของ Immigration ที่ต้องท่องให้ขึ้นใจคือ กฎ 60 วัน ... ในที่นี้หมายถึงคุณนักเรียนทั้งหลายมีเวลาในการทำเรื่องย้ายโรงเรียน 60 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของการเรียน และต้องนับ 60 วันจริงๆ ห้ามนับว่า 2 เดือนนะคะ เพราะบางเดือนมี 31 วันค่ะ ตรงนี้มีนักเรียนที่พ้นสภาพการเป็นนักเรียนเพราะนับผิดมาแล้ว ซึ่งจะยื่นอุธรณ์ก็ไม่ได้ เพราะกฎคือกฎค่ะ จะบอกว่าไม่รู้ก็ไม่ได้
ต่อไปคือกฎของโรงเรียน ..
1. โรงเรียนที่คุณกำลังจะย้ายออก บางโรงเรียนก็ว่าไปตามกฎ 60 วัน แต่บางโรงเรียนก็เขี้ยวหน่อย ให้แค่ 15 วัน (อาจจะมาก หรือน้อยกว่านี้ก็ลองถามโรงเรียนดูนะจ๊ะ) ในที่นี้หมายความว่า ถ้านักเรียนคนใดต้องการจะย้ายออก จะต้องแจ้ง หรือทำเรื่อง คือยื่นใบ Transfer ภายใน 15 วัน นับจากวันที่เรียนวันสุดท้าย เคยมีนักเรียนบางคนไม่ทราบไปนับเฉพาะกฎ 60 วัน ปรากฎว่าโดนโรงเรียน Terminated ต้อง out of status โดยไม่รู้ตัว และต้องทำเรื่อง Re-entry ให้วุ่นวาย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา
2. โรงเรียนที่จะย้ายเข้า สิ่งที่ต้องตะหนักคือวันเริ่มเรียน มีอยุ่ 2 แบบ แบบแรกเปิดรับนักเรียนใหม่ทุกสัปดาห์ (ส่วนใหญ่คือทุกวันจันทร์) แบบที่สองเปิดเรียนเป็นเทอม ทั้งสองแบบก็คือ ให้นับย้อนขึ้นมาจากวันที่เปิดเรียนไม่เกิน 60 วัน ไงล่ะคะ เช่น ถ้าโรงเรียนเปิดเรียนวันที่ 1 เมษายน .... ก็ย้ายออกจากโรงเรียนเดิมได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. เป็นต้นไป อ่อ...แต่ก็อย่าลืมถามด้วยนะคะว่าทั้งโรงเรียนเดิม และโรงเรียนใหม่มีระยะเวลาในการดำเนินการกี่วัน ต้องบวก ลบ ระยะเวลาการดำเนินการให้เค้าด้วยนะคะ ไปเร่งๆ ทีหลังล่ะก็ไม่ดีแน่ๆ ค่ะ
..เอาเป็นว่าตอนนี้รู้กฎ กันแล้วนะคะ คราวหน้าเราจะมาต่อกันด้วยขั้นตอนของการย้ายโรงเรียน และวิธีติดตามผลค่ะ ..
Please tell me the truth!!!
อยากจะบอกว่าน้องคะ จริงหรือไม่จริง พี่รู้หมดล่ะค่ะ เพราะอะไร เพราะว่าทำงานตรงนี้เราก็จะรู้ทั้งกฎระเบียบ รวมไปถึงขั้นตอนการดำเนินการด้วยเช่นกัน ดังนั้นทางที่ดีที่สุด บอกความจริงค่ะ เล่าเรื่องราวมาให้หมด จะได้ช่วยได้ถูกทาง เผลอๆ หาทางแก้ไขให้ด้วยฟรีๆ ไม่ต้องเสียเงิน เพราะอะไรคะ เพราะโรงเรียนน่ะเค้าจ้างพวกเรามาทำหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือไงล่ะ ย้ำค่ะ ให้ความช่วยเหลือ ดังนั้นไม่ต้องกลัวอะไร ที่โรงเรียนมีบริการตรงนี้ เพราะว่ามันเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง โรงเรียนต้องการที่จะรักษานักเรียนให้เรียนอยู่กับโรงเรียนนานที่สุด เพราะนั่นหมายถึงรายได้ของโรงเรียนที่จะอยู่ได้ไงล่ะคะ วันนี้น้องจี (นามสมมติ) มาที่โรงเรียน แล้วบอกว่า ต้องการจะชำระค่าเรียน (การชำระค่าเรียนจะต้องชำระตามกำหนด หรือ Due Date หากชำระหลังกำหนดก็จะโดนปรับ บางโรงเรียน Terminate เลยก็มี จนต้องทำเรื่อง Re-entry เสียเงินโดยใช่เหตุ เอาไว้จะคุยเรื่องนี้อีกทีละกัน) โอเค...เราก็เปิดฐานข้อมูลเพื่อออกใบเสร็จรับเงินให้ แต่เอ๊ะ...เดี๋ยวก่อน
เก๋ - - “เอ่อ...น้องคะ น้อง Transfer out (ย้ายออกไปเรียนที่อื่น) แล้วนี่คะ”
น้องจี - - “อ๋อ หนูโทร.มาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว มีเจ้าหน้าที่คนไทยบอกว่าก็โอเค ให้เข้ามาจ่ายเงินค่าเรียนค่ะ”
เก๋ - - “เอ...ไม่ได้นะคะ ถ้าอย่างนี้น้องต้องทำเรื่อง Transfer กลับมา เพราะตอนนี้หนูไม่ใช่นักเรียนของโรงเรียนนี้แล้วน่ะค่ะ”
น้องจี - - “ไม่นะคะ เพราะหนูยังไม่เคยเอาใบ Transfer ไปให้โรงเรียนนั้นเลย”
เก๋ - - “เป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ เพราะทางโรงเรียนจะ Release หนูออกไปได้ ก็ต่อเมื่อ มีคนจากโรงเรียนโน้นโทร.มา Release กับที่นี่” (หมายความว่าหนูโกหกไงคะ นี่คือขั้นตอนค่ะ คิดง่ายๆ ถ้าไม่ได้เอาใบ Transfer ไปให้ แล้วเค้าจะโทรมา Release ได้ยังไง)
เก๋ - - “แล้วทำไมถึงเปลี่ยนใจไม่ไปเรียนที่นั่นแล้วล่ะคะ” (นี่เป็นวิธีหาความจริงอย่างนึง)
น้องจี - - “อ๋อ ก็พอดีเพื่อนชวนไปเรียนที่นั่น แล้วตอนนี้เค้า Take Vacation กลับไปเมืองไทย แล้วยังไม่กลับมา แล้วหนูไม่มีเพื่อนเรียน เลยคิดว่ากลับมาเรียนที่นี่ดีกว่า
“แหม่...ฟังดูแปลกๆ นะคะคุณน้อง คุณน้องใช้เวลานานมากในการตัดสินใจว่า จะย้ายเข้า ย้ายออก คือปกตินักเรียนที่ต้องการจะย้ายโรงเรียน ทาง immigration ให้เวลาในการย้าย 60 วัน ในกรณีน้องจีเล่นใช้ซะเต็มสตรีม แถมเกินอีกต่างหาก (อืม...สงสัยจะหยุดเรียนเพลินไปหน่อย รู้ตัวอีกที เกินกำหนดซะละ)
อ่ะ...เราก็พยายามช่วยด้วยการไปถามทนายให้ ทนายก็ยืนยันกลับมาว่า คุณน้องจีเกิดปัญหาใหญ่แล้วล่ะ อีกอย่างเค้าไม่เชื่อเหตุผลที่ให้มา เค้าต้องการให้ทางผู้จัดการเป็นคนตัดสินใจ (แบบว่าโรงเรียนก็ไม่อยากรับนักเรียนที่อาจจะทำให้โรงเรียนมีปัญหาเช่นกัน) เราก็พยายามคุย และหาความจริงจากน้องจีว่าเหตุผลที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ ตะล่อมถามอยู่นานจนได้ความจริงว่า มัวแต่ทำงาน จนเกินกำหนด อีกอย่างมีปัญหาเรื่องเงิน คือ
1. หาสเตทเม้นท์ไปให้ที่โรงเรียนใหม่ไม่ได้ (ขั้นต่ำ $3000 ไม่เกิน 3 เดือนย้อนหลัง)
2. ไม่มีเงินจ่ายค่าเรียนเบื้องต้น 12 สัปดาห์ (คือถ้าย้ายไปที่ใหม่จะต้องจ่ายค่าเรียนครั้งแรก 3 เดือน แต่หลังจากนั้นก็จ่ายทีละเดือนได้ ก็เลยคิดว่ากลับมาเรียนที่เดิมจ่ายเดือนเดียวมันจะง่ายกว่า)
ที่น้องคิดน่ะมันก็ถูก แต่มันผิดตรงที่ว่ากะเวลาผิดน่ะสิคะ ตอนนี้เรื่องมันเรียบร้อยหมดทุกอย่างแล้ว ชื่อน้องมันไปเป็นนักเรียนของโรงเรียนอื่นไปแล้วอ่ะ (หรือไม่ก็ลอยอยู่ในอากาศ รอวันให้ทาง SEVIS: ฐานข้อมูลนักเรียนต่างชาติ terminate) ถ้าจะกลับมาก็ต้องทำเรื่องย้ายกลับมาใหม่ ก็ต้องหาสเตทเม้นท์ และจ่ายค่าเรียน 3 เดือน อยู่ดี อีกอย่างหนูบอกว่าโทรมาเมื่อสัปดาห์ก่อน พี่นับเวลาดูแล้วมันก็ยังอยู่ในระยะเวลา 60 วัน แต่หนูปล่อยให้เวลาผ่านไปอีก 2 สัปดาห์แล้วเพิ่งมา มันก็สายเกินไปแล้ว ทำไมไม่รีบมาล่ะคะ นะตอนนั้น...ก็ยังพอช่วยได้
เราก็บอกน้องจีว่างั้นรอซัก ครึ่งชั่วโมง ผู้จัดการมาแล้วลองคุยกับเค้าดู เผื่อจะมีทางช่วยได้ แต่น้องจีบอกว่า งั้นหนูลองไปคุยกับทางโรงเรียนโน้นก่อนดีกว่าค่ะ หือ.... O_O น้องคะ ไหนๆ ก็มาถึงที่นี่แล้ว รออีกแค่ครึ่งชั่วโมงคุยกับทางนี้ก่อน แล้วค่อยไปคุยทางโน้น น่าจะดีกว่านะคะ จะได้ไม่เสียเวลา “อืม....พอดีเดี๋ยวหนูต้องไปทำงานแล้วน่ะค่ะ” --- --- “คือ พี่ว่าตอนนี้หนูควรให้ความสำคัญกับสถานภาพก่อนดีไหม ถ้า out of status ก็เท่ากับอยู่อย่างผิดกฎหมาย นะคะ” “อืม...หนูไม่ว่างจริงๆ ค่ะพี่ ไว้หนูไปคุยกับโรงเรียนโน้นก็แล้วกันค่ะ...ขอบคุณนะคะพี่” ว่าแล้วน้องจีก็รีบจรลีจากไป เวรกรรม...เฮ้อ!
คุณผู้อ่านคะ คิดว่าคงรู้กันแล้วล่ะว่ามันมีอะไรปิดบังซ่อนเร้นอยู่ แต่เราก็คงไม่รู้ถ้าเค้าไม่บอก แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้น้องจีมีปัญหาใหญ่แล้วล่ะ พี่ภาวนาขอให้น้องจีไม่ละเลยจนต้องอยู่อย่างผิดกฎหมาย...
ตอนเปิด Blog
ใครมีสถานภาพเป็นนักเรียนต่างชาติในเมกาฯ บ้าง ยกมือขึ้น.... \-_-/
ใคร ที่ถูกเรียกว่า International Student, Non-resident Student บวกกับมีหลักฐานชี้บอกการเป็นนักเรียน ด้วยการถือวีซ่านักเรียน หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า F1 และ I-20 หรือในภาษาไทยชื่อย๊าว ยาวว่า ใบตอบรับเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา นั่นเอง คราวนี้น่าจะพอรู้ตัวแล้วล่ะว่าตัวเองเป็นนักเรียนหรือป่าว
ทำไม ต้องเป็นนักเรียน ก็ Blog นี้เปิดมาเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของนักเรียนน่ะสิจ๊ะ เรื่องราวที่นักเรียนทุกคนต้องรู้ แต่ส่วนใหญ่ละเลยจนบางทีก็สายเกินกว่าที่จะแก้ เรื่องเล่านี้มาจากประสบการณ์ของการทำงานเป็นที่ปรึกษานักเรียนในโรงเรียน สอนภาษาแห่งหนึ่งของเก๋เอง ไม่น่าเชื่อว่าแต่ละวันจะมีเรื่องไม่ซ้ำกันเลย ทั้งที่กฎการเป็นนักเรียนต่างชาติของ US Immigration มีอยู่แค่ไม่กี่ข้อ หลักๆ ก็วนเวียนอยู่แค่คุณขอวีซ่ามาเรียน คุณก็ต้องทำตัวให้เป็นนักเรียน ถ้าทำตัวไม่เป็นนักเรียนก็ต้องถูกยกเลิกการเป็นนักเรียนเท่านั้นเอง กฎมีอยู่แค่นี้จริงๆ นะ แต่รายละเอียดมันเยอะค่ะนักเรียนขา...
อยาก ให้นึกไปถึงเมื่อครั้งเพียรพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่ง F1 น่ะ ว่ามันยากเย็นขนาดไหน เมื่อได้มาแล้ว และมาถึงอเมริกาแล้ว ก็ช่วยรักษาไว้ดีๆ หน่อยเถอะค่ะ มันไม่ได้ยากอะไรเลย ถ้าสนใจซักนิด
แถม ข้อดีที่จะได้ตามมา ก็คือ “หนทาง” , “โอกาส” และ “ประสบการณ์” ที่รับรองว่าคุ้มสุดคุ้ม ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจุดประสงค์ของแต่ละคนคืออะไร เช่น จะเรียนเอาความรู้จริงๆ หรือจะเรียนไปเที่ยวไป หรือจะเรียนไป Make Money ไป อ่ะฮ๊า...พูดถึงตรงนี้แล้วตาโตกันล่ะสิ...อิอิ นักเรียนคะ กฎของการเป็นนักเรียนที่ถือวีซ่า F1 คือ ห้ามทำงาน ย้ำค่ะ ห้ามทำงาน (แต่ ก็เห็นทำกันทั้งนั้น ห้ามเถียงค่ะ ห้ามเถียง...จุ๊...จุ๊) เอาน่ะ ติดตามอ่าน Student Blog ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ปิ๊ง! เองว่ายังไง หุหุหุ...